วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 7 
วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน 2559
เวลาเรียน  08.30-11.30น.
เนื้อหา
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา
สถานศึกษาปฐมวัยทำหน้าที่และรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาการและมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็ก

 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
       ข่าวสารประจำสัปดาห์
ให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
-สาระการเรียนรู้
-พัฒนาการและการเรียนรู้จากกิจกรรม
-กิจกรรมครอบครัว
-เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
-ข้อเสนอแนะ
       จดหมายข่าวและกิจกรรม
เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครองในขั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก
-ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก
-กิจกรรมพัฒนาการเด็ก ข้อมูลผู้ปกครอง
       ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
ส่วนใหญ่อยู่ในห้องเรียน อยู่หน้าชั้นเรียนของทุกห้อง
-ข้อมูลจากสิ่งต่างๆ
-ภาพถ่ายกิจกรรม
-ผลงาน  เกร็ดความรู้
        การสนทนา
เป็นรูปแบบการให้ความรู้ที่เข้าถึงและตรงมากที่สุดเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี

 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา

  • ห้องสมุดผู้ปกครอง = เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ ความเคลื่อนไหวและความทันสมัย
  • ป้ายนิเทศ = ไม่เน้นห้องใดห้องหนึ่ง มีข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ทั่วๆไป
  • นิทรรศการ = เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ บันเทิง ความรู้
  • มุมผู้ปกครอง = พบปะสร้างสรรค์ ให้ความรู้ไม่นาน มีการแสดงผลงานของลูกเอาไว้
  • การประชุม = ใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้ผู้ปกครอง
  • จุลสาร = สิ่งพิมพ์ มี4ส่วน ส่วนของบรรณาธิการ เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด
  • คู่มือผู้ปกครอง = เอกสารให้ความรู้ผู้ปกครอง กฏ ระเบียบ ปรัชญา
  • ระบบอินเทอร์เน็ต = การสื่อสารใช้เพื่อการเร่ียนการสอน





คำถามท้ายบท

1.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียนครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้างจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1.ข่าวสารประจำสัปดาห์ เช่น แผ่นพับ ใบความรู้ ต่างๆ
             2.จดหมายข่าวและกิจกรรม เช่น ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก นิทาน  ศิลปะ
             3.ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง  ส่วนใหญ่อยู่ในห้องเรียน คือ ผลงานของเด็กทุกคนในห้องเรียน
             4.การสนทนา เป็นการให้ความรู้ผู้ปกครองที่ตรงและเข้าถึงที่สุด คือ พูดคุย แลกเปลียนความคิดเห็น

2.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1.ห้องสมุดผู้ปกครอง เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่ทันต่อเหตุการณ์
              2.ป้ายนิเทศ ไม่เจาะห้องใดห้องหนึ่ง คือ ข่าวสาร การประชาสัมพันธ์
              3.นิทรรศการ เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และเพื่อความบันเทิง
              4.มุมผู้ปกครอง จะไม่มีในห้องแต่จะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโรงเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองที่คอยรับ-ส่ง ลูกได้ทำกิจกรรมกันตามความเหมาะสม
             5.การประชุม  เพื่อ แถลงนโยบายการจัดการศึกษา ประสานงานทำความเข้าใจ แลกเปลียนทัศนคติ
            6.จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆด้าน
           7.คู่มือผู้ปกครอง จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ให้ผู้ปกครองได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา
           8.ระบบอินเทอร์เน็ต เว็บโรงเรียน ใช้เพื่อการเรียนการสอน สื่อสาร

3.นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ คือจะต้องมีการสนทนาพูดคุยกับผู้ปกครองอย่างเป็นทางการเพื่อบอกให้ผู้ปกครองได้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ทั้งเด็ก การให้ความรู้ และเกี่ยวกับโรงเรียนนั้น อธิบายให้ผู้ปกครองค่อยๆยอมรับและให้ความร่วมมือ

4.การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ สำคัญและจำเป็นมาก เพราะว่า เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องต่างๆ บางครั้งผู้ปกครองไม่อาจเข้าใจได้เราก็สามารถให้ความรู้ผู้ปกครองนำกลับไปใช้กับเด็กและสามารถพัฒนาได้ และทำให้ผู้ปกครอง ได้ข้อมูลการดูแลเด็ก ผลการเรียนของเด็ก พฤติกรรมของเด็ก และเมื่อรู้แล้วผู้ปกครองก็จะนำไปพัฒนาได้


5.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ การที่ผู้ปกครองนั้นให้ความร่วมมือ คือรูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะถ้าผู้ปกครองไม่สนใจก็เท่ากับว่าสิ่งที่ครูเตรียมมาก็ศูนย์เปล่า ไร้ประโยชน์ เราะฉะนั้น การให้ความร่วมมือของผู้ปกครองคือสิ่งที่ดีที่สุด


ประเมินตนเอง

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ทำแผ่นผับ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆบ้างคนก็ตั้งใจเรียนบางคนก็คุยกัน

ประเมินอาจารย์ 


อาจารย์สอนเข้าใจและมีการอธิบายและให้ทำจริง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น